วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

อันตรายจากเสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร


อันตรายจากเสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร

"สาระดีๆ มีไว้แบ่งปัน" ... โดย Newtech Insulation



            เสียงรบกวนหรือเสียงที่ดังเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด สามารถสร้างอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนษย์ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายรวมถึงสุขภาพจิต ทั้งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยในการทำงานอีกด้วย หากท่านประสบหรือพบเห็นผู้ที่สัมผัสเสียงเกินกว่า 85 dBA เป็นเวลายาวนานต่อเนื่องกันโดยไม่มีเครื่องป้องกันหู ควรแนะนำให้ทราบถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการได้ยิน ซึ่งท้ายที่สุดอาจจะก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร (permanent hearing loss)

            อันตรายจากเสียงดังทั้งแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือดังกระแทกแบบช่วงสั้นๆ สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินขึ้นได้ในสองรูปแบบ แบบแรกจะเป็นการสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว หรือที่เรามักจะเรียกว่า “หูดับ” หรือ “หูอื้อชั่วขณะ” และแบบที่สองคือการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร ซึ่งหมายถึงการสูญเสียที่ไม่สามารถทำการรักษาหรือฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมได้นั่นเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการสูญเสียการได้ยินแบบถาวรนั้นจะเกิดในช่วงความถี่สูง ประมาณช่วง 3000-6000 Hz

นอกจากการสูญเสียการได้ยินแล้ว อันตรายจากเสียงยังมีอีกหลายประการ ดังนี้
• ความด้นโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากสมดุลร่างกายเปลี่ยนแปลงไป
• เส้นเลือดหดตัวมากกว่าปกติ อันอาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
• ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อทำงานผิดไปจากปกติ
• รู้สึกมีอาการท้องใส้ปั่นป่วน หรือปวดท้อง
• มีอาการนอนไม่หลับ แม้เสียงนั้นจะเงียบแล้วก็ตาม
• เกิดความเครียดสะสม และอาจเริ่มต้นมีความรู้สึกหดหู่
• หงุดหงิด โมโหง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้เหมือนเดิม

วิธีการสังเกตว่าเรากำลังทำงานหรืออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อาจได้รับอันตรายจากเสียง
• ต้องตะเบ็งเสียงหรือตะโกนเพื่อให้คู่สนทนาได้ยิน
• ไม่เข้าใจหรือไม่ได้ยินเสียงจากคู่สนทนา ในระยะห่างประมาณ 1 เมตร
• รู้สีกอื้ออึง เหนื่อยล้าและวิงเวียนศีรษะ
• รู้สึกว่าปวดในหู หรือมีเสียงดังวิ้งๆอยู่ในหูตลอดเวลา

เสียงดังทำลายระบบประสาทหูและการได้ยินของเราได้อย่างไร
• เสียงเข้าสู่หูเราในรูปคลื่น ยิ่งเสียงดังมาก คลื่นที่เข้าไปในรูหูจะลูกใหญ่มาก
• ใบหูชั้นนอกจะรับคลื่นเสียง เพื่อให้คลื่นเสียงเข้าไปกระทบกับหูชั้นกลางและเกิดความสั่นสะเทือน
• จากนั้นคลื่นเสียงที่ถูกแปลงเป็นความสั่นสะเทือน จะเดินทางไปยัง cochlea หรืออวัยวะรูปก้นหอย ซึ่งมีเส้นขนขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก และมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณความสั่นสะเทือนเป็นคลื่นไฟฟ้าส่งต่อไปยังสมองเพื่อประมวลผลต่อยังเส้นประสาทเกี่ยวกับระบบการได้ยิน
• เฉพาะเส้นขนที่แข็งแรงของอวัยวะรูปก้นหอยเท่านั้น ที่สามารถส่งคลื่นไฟฟ้าไปยังสมองส่วนของระบบการได้ยิน จากนั้นสมองจะสั่งการต่อว่าจะตอบสนองต่อเสียงที่เราได้ยินอย่างไร
• ถ้าเส้นขนของอวัยวะรูปก้นหอยถูกคลื่นเสียงหรือความสั่นสะเทือนกระทบอย่างรุนแรง ก็จะเกิดการเสียหาย เมื่อโดนบ่อยๆ เส้นขนเหล่านี้ก็จะหายไปไม่สามารถขึ้นมาใหม่ได้อีก ทำให้คลื่นไฟฟ้าในช่วงที่ขนหายไปไม่เกิดขึ้น อันหมายถึงสมองไม่สามารถรับรู้หรือสั่งให้ส่วนอื่นๆตอบสนองต่อเสียงที่เกิดขึ้นนอกหูได้นั่นเอง

LINE@newtechinsulation

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ลดเสียงรบกวนจากระบบทำความเย็น



ลดเสียงรบกวนจากระบบทำความเย็น

แก้ปัญหาเสียงดังรบกวนจากพัดลมเติมอากาศ



โรงงานหรือผู้ประกอบการที่มีปัญหาเสียงดังจากระบบระบายความร้อน ไม่ว่าจะเป็นพัดลม ชิลเลอร์ คูลลิ่งทาวเวอร์ AHU ส่งเสียงดังรบกวนผู้อยู่อาศัยนอกโรงงาน หรือทำให้ค่าเสียงในโรงงานเกินกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

ติดต่อ บจก.นิวเทค อินซูเลชั่น ให้ไปช่วยแก้ไข ปรับปรุงได้นะคะ

โทร.098-995-4650

Line@newtechinsulation

https://youtu.be/zvfsq1bRThM


วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

แก้เสียงรบกวนด้วยฉนวนกันเสียงหรือแผ่นซับเสียง


แก้เสียงรบกวนด้วยฉนวนกันเสียงหรือแผ่นซับเสียง


นิยามของคำว่า “เสียงรบกวน”
เสียงรบกวนคือ “เสียงที่เราไม่ต้องการได้ยิน” ไม่ว่าเสียงนั้นจะดังหรือเบา จะเป็นเสียงดังต่อเนื่องหรือเป็นเสียงกระแทก จะเกิดขึ้นในเวลากลางวันหรือในเวลากลางคืนก็ตาม หากเป็นเสียงที่เราไม่อยากได้ยิน นั่นคือเสียงรบกวน การวัดระดับเสียงรบกวนมีสองแบบคือ 1) วัดโดยใช้เครื่องวัดเสียงตามข้อกำหนดและระเบียบวิธีการวัดเสียงรบกวนของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งระบุให้มีความต่างของเสียงไม่เกิน 10 dBA (ขณะที่มีการรบกวนและขณะที่ไม่มีการรบกวน) และ 2) วัดโดยใช้ความรู้สึกของผู้ถูกรับเสียง หากค่าการรบกวนไม่เกิน 10 dBA แต่ปรากฎว่าผู้รับเสียงมีความเดือดร้อนรำคาญ ทรมานในการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ถือว่าเป็นการรบกวนหรือเหตุเดือดร้อนรำคาญ ซึ่งจะไปสอดคล้องกับข้อกฎหมายของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข



ทำความรู้จัก “ฉนวนกันเสียง
ฉนวนกันเสียงหมายถึง “วัสดุที่มีคุณสมบัติต้านทานพลังงานที่ทำให้ความดันบรรยากาศเปลี่ยนไป” เมื่อระดับความดังเสียงเกิดจากแรงดันอากาศรอบๆตัวเราถูกความสั่นสะเทือนทำให้เปลี่ยนไป คลื่นพลังงานดังกล่าวที่เข้ามากระทบหูของเรา ทำให้สมองเราเกิดการรับรู้หรือได้ยินเป็นเสียงต่างๆขึ้นมา ฉนวนกันเสียงจะทำหน้าที่ต้านทานพลังงานเสียงให้ทะลุผ่านได้ยากที่สุด หรือทะลุผ่านแต่เหลือพลังงานเสียงน้อยลงจนไม่เป็นอันตรายต่อผู้รับเสียง ฉนวนกันเสียงจะต่างกับวัสดุกันเสียงคือ ฉนวนกันเสียงโดยมากจะอยู่ในรูปของเส้นใยหรือรูพรุน เช่น ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน ฉนวนใยโพลีเอสเตอร์ แต่วัสดุกันเสียงจะอยู่ในลักษณะเป็นแผ่น ก้อน ที่มีความหนาแน่นสูง เช่น แผ่นคอนกรีต อิฐตัน ยางหล่อ แผ่นคอมโพสิต





ทำความรู้จัก “แผ่นซับเสียง”
แผ่นซับเสียงหมายถึง “วัสดุที่มีความสามารถในการรองรับพลังงานเสียงและมีคุณสมบัติในการสะท้อนเสียงน้อยที่สุด” แผ่นซับเสียงโดยมากจะมีเนื้อวัสดุที่ไม่ต่อเนื่องกัน เพื่ออาศัยโพรงหรือช่องอากาศในเนื้อวัสดุ ได้ให้คลื่นเสียงเดินทางผ่านเข้าไปตามช่องว่างเหล่านั้นและเกิดการสะท้อนกลับได้น้อยที่สุด แผ่นซับเสียงที่ดูดซับพลังงานเสียงไว้ไม่ได้ทั้งหมด จะยอมให้พลังงานเสียงส่วนเกินทะลุผ่านออกไปยังอีกด้านหนึ่ง ด้วยเหตุผลนี้เอง หากเราเลือกใช้แผ่นซับเสียงที่ไม่เหมาะสมกับแหล่งกำเนิดเสียงและสภาพแวดล้อม นอกจากเสียงจะทะลุแผ่นซับเสียงแล้วยังสะท้อนกลับหรือแผ่นซับเสียงนั้นเก็บพลังงานเสียงได้น้อยด้วย
เลือกอะไรดี “ฉนวนกันเสียง” หรือ “แผ่นซับเสียง”
การจะตัดสินใจเลือกใช้ระหว่างฉนวนกันเสียงหรือแผ่นซับเสียงนั้น ประการแรกต้องสรุปปัญหาเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นให้ได้ก่อนว่าเป็นเสียงรบกวนที่มาจากด้านในหรือว่าด้านนอกห้อง (พื้นที่รับเสียง) หากเสียงรบกวนมาจากภายนอกห้องก็จะใช้ระบบฉนวนกันเสียงในการลดเสียงรบกวน แต่หากเสียงที่ไม่พึงปราถนาเกิดขึ้นภายในห้องหรืออาคารก็ต้องใช้วัสดุหรือแผ่นซับเสียงในการลดเสียงรบกวน ข้อผิดพลาดที่พบเจอได้มากก็คือ การนำแผ่นซับเสียงมากรุที่ผนังห้องนอนเพื่อลดเสียงรบกวนจากยานพาหนะบนถนนนอกบ้าน จริงอยู่ว่าการติดแผ่นซับเสียงในผนังห้องอาจทำให้เสียงจากด้านนอกทะลุผ่านผนังห้องได้น้อยลง แต่แผ่นซับเสียงก็ยังขาดคุณสมบัติในการกันเสียงที่ดีเหมือนฉนวนกันเสียง ส่งผลให้เสียงอาจจะเบาลงแต่ความเดือดร้อนรำคาญจากเสียงภายนอกมิได้หมดไปนั่นเอง


วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562

เพราะเรา เข้าใจเรื่องเสียง





บริการลดเสียงดังรบกวน   พร้อมรายงานเสียงก่อนและหลังปรับปรุง

โทร.098-995-4650   LINE@newtechinsulation

E-mail: contact@newtechinsulation.com



designed for comfort, engineered for control

https://www.ฉนวนกันเสียง.com

https://youtu.be/sd6_6UTXUFU

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2562

บริการวัดเสียงรบกวนยามวิกาล





บริการตรวจวัดเสียงรบกวนยามวิกาล เพื่อคุณภาพการนอนหลับที่ดีกว่า
อย่ารอจนสุขภาพจิตเสียไปนะคะ

#แก้เสียงรบกวน #แก้เสียงดังรำคาญ
#ลดเสียงดังในโรงงาน #วัดเสียงรบกวน #นอนไม่หลับ #ฉนวนกันเสียง
 
โทร. 098-995-4650
LINE@newtechinsulation
E-mail : contact@newtechinsulation.com
 

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2562

"ZAVE" ฉนวนประหยัดค่าไฟฟ้า





"ZAVE" ฉนวนประหยัดค่าไฟฟ้า/ฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ สำหรับ plastic extrusion, plastic injection ลดความร้อนแผ่ เพิ่มความปลอดภัย ลดค่าไฟฟ้าได้จริง Line @newtechinsulation

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

แก้ปัญหาเสียงดังรบกวน ด้วย แผ่นซับเสียง NSORP รุ่น RT60





แก้ปัญหาเสียงรบกวน เสียงก้อง เสียงสะท้อน ได้ด้วยตัวคุณเอง แผ่นซับเสียง NSORP รุ่น RT60 พร้อมทีมงานที่คอยให้คำแนะนำและคำนวณค่าการลดลงของเสียง หลังการติดตั้ง เริ่มต้นเพียง 800 บาท/แผ่น เท่านั้น

Line @newtechinsulation


จุดเด่นของแผ่นซับเสียง NSORP
·       ซับเสียงได้ดีเยี่ยม แก้ปัญหาเสียงก้องในห้องได้จริง
·       เมื่อติดผนังห้องสามารถกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้
·       ติดตั้งได้เอง ไม่ต้องรอช่าง ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่เสียเวลา
·       ติดตั้งเฉพาะจุดที่ต้องการ ก็ลดเสียงได้ ไม่จำเป็นต้องติดเต็มผนัง
·       สามารถย้ายแผ่น สลับสี เปลี่ยนรูปทรงได้ ไม่น่าเบื่อ
·       เป็นของตกแต่งห้อง ช่วยให้ห้องดูดีมีสีสัน
·       มีให้เลือกทั้งตีมส่วนตัว ตีมธุรกิจและตีมโรงงาน
·       เลือกสีมาตรฐานได้ถึง 15 เลือกรูปทรงของฉนวนได้ถึง 6 แบบ
·       พร้อมบริการออกแบบลวดลายการติดตั้งให้ฟรี
·       คละสี คละไซส์ได้ ซื้อเท่าที่อยากได้ ไม่มีขั้นต่ำ